เพราะกรณี “ธรรมกายโมเดล” อาจกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่ทำให้คนทั้งประเทศถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชน !!!
นับจากวินาทีนี้เป็นต้นไป...
เรื่องของพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกายไม่ใช่แค่เรื่องของคนรักหรือเกลียดวัดเท่านั้น
เพราะถ้าล้มวัดได้ นั่นหมายถึงคนทั้งชาติจะถูกลิดรอนสิทธิ์มนุษยชนไปด้วย…หรือไม่ ?
จากเมื่อวาน ผมถูกกระตุ้นความคิดอีกครั้งจากข้อความของ
อั้ม อิราวัต อารีกิจ อดีตนักร้องค่าย RS
แต่กรณีนี้
พระธัมมชโยยังไม่ได้เป็นผู้ต้องหาสักหน่อย เป็นแค่ผู้ถูกกล่าวหา แต่กลับไปลิดรอนสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของท่าน
แถมยังไปบังคับท่านให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ
ทั้งๆ ที่กฎหมายเขาก็ไม่ได้ระบุหรือบังคับให้รักษาที่ไหนเลย
อย่างนี้ ถือเป็นการละเมิดความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย..ใช่หรือไม่ ???
คือ ตามสิทธิมนุษยชนแล้ว เราจะปฏิบัติต่อคนป่วยเหมือนคนที่ไม่ป่วยไม่ได้ เช่น ถ้าพ่อแม่แก่ๆ หรือลูกเรากำลังป่วยหนัก อยู่ๆ โดนใครก็ไม่รู้จะมาลากให้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาเรื่องรับของโจร โดยกระทำกับเขาเหมือนคนแข็งแรงปกติ อย่างนี้..ก็ถือว่าเป็นการละเมิดความเสมอภาคในการใช้กฎหมายเช่นกัน
#การใช้กฎหมายต้องพิจารณาถึงหลักการได้สัดส่วนในการออกคำสั่ง
3 ข้อ คือ...
ทำไม..ต้องทำกับพระแก่ๆ ที่ป่วย และไม่คิดหนี เหมือนท่านไปฆ่าคนทั้งแผ่นดินมาล่ะครับ
?
ผมก็เลยไปนั่งคุยกับนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งเกี่ยวกับกรณีของพระธัมมชโย
ทำให้ผมพบความผิดปกติหลายอย่างในขั้นตอนการดำเนินคดี ซึ่งผมขอเอามาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นกรณีศึกษา
เพราะไม่ช้าก็เร็วผลกระทบของเรื่องนี้ อาจเกี่ยวข้องกับตัวคุณเข้าสักวัน !!!
ช่วงนี้จะเห็นว่ากระแสทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลสูงถึงขั้นลุกลามไปสู่สถาบันสงฆ์
จนเกิดการเดินเกมล้มสมเด็จช่วง วัดปากน้ำ ซึ่งถ้าสามารถทำให้ท่านไม่ได้เป็นสังฆราชสำเร็จ
ผมว่า..ระบบความยุติธรรม ความเป็นประชาธิปไตย
และสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้รับ ก็แทบจะหายไปจากแผ่นดินนี้แล้วครับ เพราะหากล้มสมเด็จช่วง ซึ่งเป็นถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้
แล้วยังล้มวัดพระธรรมกายได้อีก
พระรูปอื่นๆ ก็คงไม่เหลือแล้ว เพียงแค่รอเวลาว่า..พระรูปใด..กำลังจะเป็นรายต่อไปเท่านั้นเอง
!!!
ก่อนที่ผมจะเฉลยว่า กรณีพระธัมมชโยนี้ จะทำให้เราจะถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างไร
ผมก็อยากให้ทำความเข้าใจกับกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 กันก่อน ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์
ต้องได้รับการคุ้มครอง
ในกรณีของพระธัมมชโยนี้ ถือว่าท่านถูกละเมิดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เต็มๆ (HUMAN RIGHTS) เพราะขณะที่ท่านกำลังป่วยหนัก กลับมีบางคนปฏิบัติกับท่านเหมือนท่านไม่ใช่คน
คือ พยายามกดดันให้คนป่วยไปรับทราบข้อกล่าวหา ทั้งๆ ที่ก็เดินทางมาแจ้งที่วัดได้
หากใครสักคนกำลังกระทำกับคนแก่ที่ป่วยหนักอย่างนี้ได้
แสดงว่า..คนนั้นไม่ได้มองว่าพระธัมมชโยเป็นมนุษย์ใช่หรือไม่
? เพราะได้ปฏิบัติต่อบุคคลเหมือนสัตว์หรือสิ่งของ จุดนี้..ได้ชี้ให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนของพระธัมมชโยได้ถูกละเมิดแล้ว
นอกจากนี้ พระธัมมชโยยังถูกละเมิดความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ทั้งๆ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ใช้กฎหมายในบรรทัดฐานเดียวกัน
ในเมื่อพระธัมมชโยป่วย ซึ่งปกติต้องได้รับสิทธิ์ของคนป่วยโดยชอบธรรม
แต่กลับไปลิดรอนสิทธิ์ของท่าน เพราะตามกฎหมายมาตรา 7/1
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อนุ 4 สรุปความว่า ผู้ต้องหามีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
คือ ตามสิทธิมนุษยชนแล้ว เราจะปฏิบัติต่อคนป่วยเหมือนคนที่ไม่ป่วยไม่ได้ เช่น ถ้าพ่อแม่แก่ๆ หรือลูกเรากำลังป่วยหนัก อยู่ๆ โดนใครก็ไม่รู้จะมาลากให้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาเรื่องรับของโจร โดยกระทำกับเขาเหมือนคนแข็งแรงปกติ อย่างนี้..ก็ถือว่าเป็นการละเมิดความเสมอภาคในการใช้กฎหมายเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยต่อว่า
ถ้าเดินทางมารับทราบข้อหาไม่ได้ แล้วจะต้องทำอย่างไร กรณีอย่างนี้
เจ้าหน้าที่ต้องเดินทางมาแจ้งข้อหาเองที่บ้าน หรือโรงพยาบาล
ซึ่งจะขยายความในลำดับต่อๆ ไป
จากกรณี “ธรรมกายโมเดล”
ที่ท่านถูกลิดรอนสิทธิ์นี้ ต่อไปอาจกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ให้คนในประเทศ เพราะขนาดพระระดับนี้ที่มีคนสนับสนุนมากยังถูกละเมิดสิทธิ์ขนาดนี้
ต่อไปชาวบ้านหรือสามัญชนธรรมดาๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง แล้วถ้าอีกหน่อยพ่อแม่หรือลูกคุณกำลังป่วยหนัก
หากมีขบวนการยุติธรรมมาลากไปรับทราบข้อหา ก็คงต้องไปแล้วล่ะครับ เพราะกลายเป็นบรรทัดฐานไปแล้ว
ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรแล้ว !!!
ดังนั้น “อย่าเอาความไม่รู้กฎหมายของประชาชน มาเป็นช่องว่าง
ทำร้ายประชาชนผู้ไม่ผิด”
จะเห็นว่า “ธรรมกายโมเดล”
จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ซึ่งเราจะถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพลงไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว จนมารู้ตัวอีกที ก็คือ…ประเทศไทยกลายเป็น “เผด็จการ” ไปแล้วใช่หรือไม่
??? อยากให้ลองศึกษาร่างรัฐธรรมนูญล่าสุดดู แล้วค่อยมาตอบก็ได้
ไม่รีบครับ !!!
มาถึงตรงนี้ ผมว่าหลายคนคงไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย
จึงทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อในการถูกลิดรอนสิทธิ์หลายๆ อย่างไป ดังนั้นผมอยากให้ทุกคนลองสังเกตในสิ่งที่ผมจะอธิบายต่อไปนี้
โดยหยิบยกกรณีที่พระธัมมชโยเจอ เผื่อเราจะได้เอาไว้เทียบเคียงกับสิ่งที่ต้องเจอในอนาคตบ้าง
1) หลักแห่งความสัมฤทธิ์ผล
ถ้า DSI มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแจ้งข้อกล่าวหากับพระธัมมชโยจริงๆ
อย่างบริสุทธิ์ใจ โดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ทำไมไม่มาแจ้งที่วัด เพราะตามกฎหมายนั้น
การแจ้งข้อกล่าวหาจะแจ้งที่ไหนก็ได้
ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งที่ DSI ซึ่งถ้า DSI ยอมมาแจ้งที่วัดแต่แรก
ก็สัมฤทธิ์ผลง่ายรวดเร็วและเสร็จไปนานแล้ว
แต่การที่ DSI ไม่ยอมมาแจ้งข้อกล่าวหา
ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่เต็มอกว่า พระธัมมชโยป่วยจริง เพราะ DSI เคยมาพบพระธัมมชโยที่วัดและเห็นอาการป่วยของท่านกับตาตัวเองเมื่อครั้งก่อน
แล้วเป็นผู้แถลงกับผู้สื่อข่าวเองว่าท่านป่วยจริง
จากการกระทำตรงนี้เอง เท่ากับสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้สังคม
อีกหน่อยใครป่วยปางตาย..ก็ต้องลากสังขารไป DSI งั้นหรือ ? ทั้งๆ ที่เขาก็มีกฎหมายให้สิทธิ์แก่คนป่วยแล้ว
ตรงจุดนี้เอง นักกฎหมายที่นั่งคุยกับผมเขาชี้จุดว่า
“หากฝ่ายปกครองมีจุดมุ่งหมายในใจที่จะใช้มาตรการที่ออกมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลอย่างอื่น
นอกเหนือไปจากผลที่กฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองประสงค์จะให้เกิดขึ้น ถือว่าเข้าข่ายการใช้อำนาจโดยมิชอบ”
2) หลักแห่งความจำเป็น
สาระสำคัญหัวข้อนี้มีอยู่ว่า..ถ้ามีมาตรการอื่นที่มีผลกระทบน้อย และสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นได้
ก็ให้ใช้มาตรการนั้น
ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า กรณีที่พระธัมมชโยป่วย ไม่สามารถไปรับแจ้งข้อกล่าวหาได้
แถมทางวัดก็เชิญ DSI แบบเชิญแล้วเชิญอีก
ขอถามว่า..ทำไม DSI ไม่ใช้มาตรการที่มีผลกระทบต่อสิทธิ์น้อยกว่าการออกหมายเรียก คือ แค่มาวัด ก็จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการมาแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว
ทำไมถึงเลือกมาตรการที่มีผลกระทบต่อสิทธิ์มาก โดยไปบังคับให้คนป่วยแก่ๆ
ที่หมอห้ามเดินทางทรมานสังขารไปหา
ตรงจุดนี้ขอถามว่า DSI ต้องการให้พระธัมมชโยออกไปให้ได้เท่านั้นใช่หรือไม่ ? และถ้าพระธัมมชโยลากสังขารออกไปไม่ไหว
ก็จะเป็นข่าวเพื่อให้เป็นมลทินใช่หรือไม่ ? และที่สำคัญ DSI ต้องการจะยื้อ เพราะต้องการออกหมายจับ เพื่อให้ดูเป็นอาชญากรแผ่นดินใช่หรือไม่
? แล้วถ้า DSI จับได้ก็จะจัดการสึก เพื่อรวบรัดให้จบเร็วที่สุดใช่หรือไม่
? แล้วเมื่อจับสึกได้
ก็เท่ากับล้มวัดพระธรรมกายได้แบบง่ายๆ โดยเสียต้นทุนน้อยที่สุดใช่หรือไม่ ???
DSI กำลังอาศัยความไม่รู้กฎหมายของประชาชน
ทำให้ประชาชน หลงเชื่อว่าพระธัมมชโยผิดใช่หรือไม่ ?
เพราะแม้ศาลจะจะยกฟ้องพระธัมมชโยในอนาคต
แต่ก็ไม่อาจทำให้สิ่งที่เสียหายไปแล้วกลับคืนมาได้อยู่ดี ตรงนี้ขอถามว่า
ใครจะรับผิดชอบครับ ? สิ่งนี้ใช่เจตนาที่แท้จริงของ DSI ใช่ไหมครับ ???
3.หลักการได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
หลักข้อนี้มีอยู่ว่า หากรัฐมีนโยบายในการดำเนินงานใดๆ
ที่ส่งผลต่อการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว รัฐจะต้องพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับความเสียหายของเอกชนด้วย
จากหลักตรงนี้เอง การที่ DSI พยายามกดดันให้พระธัมมชโยออกไปรับทราบข้อกล่าวหาให้ได้นั้น ถ้าพระธัมมชโยเป็นแค่คนธรรมดาๆ
ก็จะไม่มีผลกระทบต่อมวลชนมากนัก แต่ความเป็นจริงแล้ว ท่านเป็นถึงผู้นำองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่มีคนจำนวนมหาศาลศรัทธาอยู่ทั่วโลกจำนวนหลายแสน
ดังนั้นการที่ DSI กระทำเช่นนี้ นอกจากเป็นการละเมิดสิทธิ์ของพระธัมมชโยแล้ว ยังเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
และทำร้ายจิตใจมวลชนจำนวนมหาศาลด้วยใช่หรือไม่ ???
อีกทั้งการออกมาตรการดังกล่าว
หากทำได้ก็จะเกิดบรรทัดฐานในการใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชน
ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนเลย
จากกรณีศึกษา “ธรรมมกายโมเดล” นี้ หากจับพระธัมมชโยเข้าคุกได้ บรรทัดฐานของสังคมไทยเราจะถึงจุดเปลี่ยนในทันที
และด้วยเหตุนี้เอง
การที่คนจำนวนมหาศาลมาวัดพระธรรมกายในช่วงนี้
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทุกคนมารวมกันเพื่อ “ปกป้องสิทธิมนุษยชน” ทุกคนมารวมตัวกันเพื่อตัวเอง มาปกป้องสิทธิ์ของตัวเองในอนาคต เพราะถ้าทำกับพระธัมมชโยได้ ทำกับสมเด็จช่วง วัดปากน้ำได้ อีกหน่อยคนธรรมดาๆ อย่างเราก็คงจะไม่เหลือ และเราก็ไม่อยากให้ “คุณ” และ “ลูกหลานของเราในอนาคต” โดนละเมิดสิทธิเป็นรายต่อไป...
ดังนั้น ณ จุดนี้ ควรหรือไม่ ที่เราจะออกมาปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งประเทศด้วยกันครับ